ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่? ไขข้อสงสัย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่งออกกำลังกาย

0
1249
ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่ ไขข้อสงสัย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่งออกกำลังกาย
ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่ ไขข้อสงสัย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่งออกกำลังกาย

ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่? ไขข้อสงสัย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่งออกกำลังกาย

แน่นอนว่าการออกกำลังกาย ย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เพราะจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและลดน้ำหนักได้ผล โดยเฉพาะการวิ่งซึ่งถือเป็นการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมาย เพียงมีรองเท้าวิ่งดีๆ สักคู่กับสถานที่วิ่งที่ปลอดภัย แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับคนตั้งครรภ์ หลายคนอาจอยากรู้ว่าวิ่งได้หรือไม่ หากวิ่งได้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนลูกน้อยในครรภ์ ไปติดตามกันเลย

คุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่ง
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/premium-photo/close-up-pregnant-belly_2170745.htm

ไขข้อสงสัย ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่?

คนตั้งครรภ์สามารถวิ่งได้หรือไม่? คำตอบคือ วิ่งได้ แต่การวิ่งในคนตั้งครรภ์เนื่องจากสรีระร่างกายที่มีความแตกต่าง การวิ่งออกกำลังกายจึงอาจจะมาพร้อมข้อจำกัดที่มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ ควรต้องศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ให้เข้าใจชัดเจนว่ามีข้อควรรู้หรือข้อควรปฏิบัติในการวิ่งอย่างไรบ้าง จะได้เซฟตัวเองไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและทารกในครรภ์ตามมา

ตั้งครรภ์วิ่ง
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/pregnant-woman-with-notes-body_1993963.htm

ความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น เมื่อคนตั้งครรภ์วิ่งออกกำลังกาย

1. เสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

เนื่องจากในช่วงอายุครรภ์ 1-3 เดือนแรก ร่างกายคุณแม่มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนตามมาบ่อยครั้ง และมีอาการหัวใจเต้นเร็วร่วมด้วย ซึ่งอาจจะทำให้วิ่งออกกำลังกายได้อย่างลำบาก เมื่อวิ่งแล้วอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา ดังนั้น จึงควรระวังเพราะอาจจะเกิดอาการหน้ามืดและเป็นลมได้

เสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/concentrated-sporty-woman-stretching-leg_4166805.htm

2. เสี่ยงเกิดเส้นเลือดขอด

เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากขึ้น คนตั้งครรภ์ที่วิ่งออกกำลังกายอาจจะต้องระมัดระวังในการลงน้ำหนักเท้าขณะวิ่ง เพราะเมื่อท้องโตมากขึ้น บั้นเอวแอ่นขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายก็จะเปลี่ยนไป กลายเป็นสาเหตุของอาการขาบวม หรือเส้นเลือดขอดที่เกิดจากการวิ่งได้

เสี่ยงเกิดเส้นเลือดขอด
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/low-section-female-athlete-standing-street-having-pain-leg_3027294.htm

3. แรงกระเทือนที่มากเกินไปอาจไม่เป็นผลดีนัก

การวิ่งในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะวิ่งเหยาะๆ วิ่งระยะสั้น หรือวิ่งระยะไกล ล้วนแล้วแต่เป็นการวิ่งที่ก่อให้เกิดแรงกระเทือนทั้งสิ้น ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อร่างกายคนท้องเท่าไร เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ให้เกิดอันตรายตามมาได้ ดังนั้น หากอายุครรภ์เริ่มมากขึ้นหรือพบว่าสรีระร่างกาย หรือขนาดของท้องใหญ่โตขึ้นแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงการวิ่งไปก่อนจะดีที่สุด แต่หันมาออกกำลังกายในแบบอื่นแทนเช่น เล่นโยคะหรือออกกำลังกายในน้ำ เพราะรูปแบบการออกกำลังกายดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดแรงกระแทกตามมา

แรงกระเทือนที่มากเกินไปอาจไม่เป็นผลดีนัก
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/premium-photo/running-girl-beach_3152337.htm

4. เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าคนปกติ

การวิ่งที่ต้องออกแรงในคนตั้งครรภ์ อาจจะทำให้ความตึงตัวของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นต่างๆ ลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ข้อต่อต่างๆ ขาดความมั่นคง นำมาซึ่งอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป

เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าคนปกติ
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/sportive-girl-having-problems-with-ankle_1957485.htm

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการวิ่งขณะตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

หากต้องการวิ่งออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์จะมีวิธีปฏิบัติและเตรียมความพร้อมของร่างกายที่เหมาะสมอย่างไร เพื่อให้การวิ่งเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพทั้งตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และทารก

1. ควรวิ่งในช่วงอายุครรภ์ 1-2 เดือนเท่านั้น

เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บที่เกิดจากขนาดท้องที่ใหญ่เกินไป คนตั้งครรภ์ควรวิ่งในช่วงอายุครรภ์ 1-2 เดือนหรือ 3 เดือนเป็นอย่างมากเท่านั้น เพราะถือเป็นช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมสำหรับการวิ่งมากที่สุด โดยอาจสังเกตจากสรีระของตัวเองว่ามีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นหรือรูปร่างที่เปลี่ยนไปมากแค่ไหน หากน้ำหนักยังขึ้นไม่มากหรือยังควบคุมรูปร่างได้อยู่ ก็อาจวิ่งต่อไปได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพของแต่ละคนร่วมด้วย

ควรวิ่งในช่วงอายุครรภ์ 1-2 เดือนเท่านั้น
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/beautiful-sportive-woman-running-along-beautiful-sandy-beach_3579544.htm

2. วิ่งเหยาะๆ เหมาะที่สุด

ข้อจำกัดในการวิ่งของคนตั้งครรภ์อยู่ที่ระยะทางนั่นเอง ด้วยเพราะสรีระของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปบวกกับอาการคนท้องต่างๆ เช่น แพ้ท้อง จึงอาจทำให้คนตั้งครรภ์ไม่สามารถวิ่งในระยะไกลได้ หากจำเป็นต้องวิ่งจริงๆ แนะนำให้วิ่งเหยาะๆ อยู่ภายในบริเวณจำกัดในระยะทางสั้นๆ จะดีกว่า โดยระยะทางที่เหมาะสมสำหรับคนตั้งครรภ์นั้น ควรไม่วิ่งเกินวันละ 3 กิโลเมตร

วิ่งเหยาะๆ เหมาะที่สุด
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/pretty-young-woman-running-city_1139905.htm

3. ไม่ควรวิ่งเกิน 15 นาที

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการวิ่งของคนตั้งครรภ์นั้นอยู่ที่ราวๆ 15 นาที ซึ่งไม่รวมเวลาที่ต้องวอร์มอัพอีก 5-10 นาที และควรหมั่นเช็คอัตราการเต้นของหัวใจขณะวิ่งให้ไม่เกิน 140 ครั้งต่อนาที เพราะหากเกินกว่านี้อาจจะเกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ไม่ควรวิ่งเกิน 15 นาที
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/happy-sportswoman-controlling-her-beats_1053728.htm

4. ควรเลือกวิ่งบนพื้นเรียบหรือสนามหญ้านุ่มๆ

คนตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการวิ่งบนพื้นผิวทางแข็งๆ หรือพื้นคอนกรีต เพราะจะทำให้เกิดแรงกระเทือนมาก หากต้องการวิ่งในช่วงตั้งครรภ์ ควรเลือกพื้นผิวของทางวิ่งที่เป็นทางเรียบอย่างเช่น สนามหญ้าที่มีความนุ่ม หรือพื้นดินที่ไม่แข็งเกินไป เป็นต้น

ควรเลือกวิ่งบนพื้นเรียบหรือสนามหญ้านุ่มๆ
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/free-photo/portrait-beautiful-active-woman-headset-jogging-wood-listening-music_2583523.htm

5. ปรึกษาแพทย์ก่อนวิ่งออกกำลังกาย

เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการวิ่งออกกำลังกาย คนตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวิ่ง เพื่อขอคำแนะนำในการวิ่งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงเช็คว่าร่างกายของคุณยังมีสุขภาพที่ปกติ และมีความพร้อมในการวิ่งหรือไม่ หรือมีขีดจำกัดในการวิ่งได้มากน้อยแค่ไหน เพราะบางคนอาจจะมีโรคประจำตัวที่ไม่เป็นผลดีต่อการวิ่งมากเท่าไหร่นัก

ตั้งครรภ์วิ่งได้หรือไม่ ไขข้อสงสัย เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์อยากวิ่งออกกำลังกาย
ที่มาของรูป : https://www.freepik.com/premium-photo/doctor-conversation-with-pregnant-woman_1769731.htm

จะเห็นได้ว่าคนตั้งครรภ์สามารถวิ่งออกกำลังกายได้ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อควรระวังและข้อจำกัดหลายประการ เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บหรืออันตรายต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายคุณแม่และทารกในครรภ์ตามมา ซึ่งหากคนท้องวิ่งออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมก็จะยิ่งทำให้สุขภาพแข็งแรง และเป็นผลดีในช่วงคลอดบุตร แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าก่อนวิ่งคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อเช็คสภาพความพร้อมก่อนร่างกายก่อนเป็นดีที่สุด